ฝึกลูกนอนยาวช่วยให้ลูกพัฒนาการดี และพ่อแม่มีเวลาพักผ่อนเมื่อลูกนอนเป็นเวลา
ฝึกลูกนอนยาวช่วยให้ลูกพัฒนาการดี และพ่อแม่มีเวลาพักผ่อนเมื่อลูกนอนเป็นเวลา
การฝึกลูกนอนยาวและฝึกลูกนอนเป็นเวลาไม่ใช่สิ่งที่ยากอย่างที่คิด พ่อแม่มือใหม่หลายคู่อาจกังวลถ้าลูกตื่นบ่อย หรือนอนไม่ได้นาน เพราะกลัวส่งผลต่อพัฒนาการเด็ก แต่จริง ๆ แล้ว การฝึกลูกนอนยาวเป็นสิ่งที่ฝึกกันได้
ทำไมต้องฝึกลูกนอนยาว ?
การนอนหลับที่เพียงพอและเหมาะสม มีผลต่อการหลั่ง Growth Hormone ที่ช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโต และการพัฒนาของสมอง เด็กบางคนนอนไม่พอจะมีอาการหงุดหงิดไม่ร่าเริงเท่าที่ควร ถ้าเป็นมาก ๆ จะส่งผลต่อการเจริญเติบโตได้ค่ะ ดังนั้นการฝึกลูกนอนยาวและเป็นเวลาจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก
สำหรับเด็ก 3 เดือนแรก สิ่งที่จำเป็นที่สุดคือการให้นมแม่ตามความต้องการของเด็กก่อน โดยยังไม่ต้องฝึกนอนยาวค่ะ แต่ในเด็กบางคนแม้มีอายุเพียง 2 เดือนกว่า ๆ ก็อาจจะนอนยาวได้เอง ถ้าน้ำหนักตัวขึ้นดี แบบนี้ก็ไม่จำเป็นต้องปลุกมาให้นมค่ะ
ฝึกลูกนอนยาวและนอนให้เป็นเวลาด้วยการกำหนดเวลาการนอน
เราสามารถฝึกลูกนอนยาวและนอนให้เป็นเวลาโดยเริ่มต้นด้วยการกำหนดเวลาการนอน อย่างการกำหนดเวลาการนอนกลางวันของลูก เริ่มได้ตั้งแต่ 4 เดือนขึ้นไปค่ะ เนื่องจากเด็กวัย 4 เดือนขึ้นไปเค้าจะนอนได้นานขึ้นและตื่นนานขึ้น อาจตื่นตอนกลางคืน ประมาณ 1-3 ครั้ง และนอนตอนกลางวัน ประมาณ 2-3 รอบ
️ระยะเวลาการนอนหลับตามวัยแนะนำดังนี้
วัยแรกเกิด (แรกคลอด - 3 เดือน) ควรนอน 14-17 ชั่วโมง
วัยทารก (4 เดือน - 1 ปี) ควรนอน 12-15 ชั่วโมง *ค่อย ๆ ลดเวลานอนตอนเย็นช่วง 5 โมงเย็นลง
วัยเตาะแตะ (1-2 ปี) ควรนอน 11-14 ชั่วโมง *ไม่ควรนอนช่วงเย็น
การฝึกลูกนอนยาวก็มีเคล็ดลับอยู่เหมือนกัน
คุณพ่อคุณแม่ที่ต้องการฝึกลูกนอนยาวควรเริ่มต้นด้วยการจัดที่นอนลูกให้เป็นสัดส่วนโดยแยกเด็กจากพ่อแม่ และต้องเน้นเรื่องความปลอดภัย เช่น การตกเบาะ ตกเตียง ส่วนเรื่องนอนห้องเดียวกันหรือไม่ สามารถปรับตามวัยและวัฒนธรรรมของแต่ละบ้านได้นะคะ
สำหรับบรรยากาศเพื่อฝึกลูกนอนยาวก็เป็นสิ่งที่สำคัญนะคะ โดยหลักคือทำให้ห้องมืด ไม่มีเสียงรบกวน หรืออาจจะเปิดไฟส้มสลัว ๆ ความมืดจะช่วยกระตุ้นการหลั่ง Hormone Melatonin ที่ช่วยในการนอนหลับ
ทริกสร้างความแตกต่างระหว่างกลางวันและกลางคืนให้ลูกอย่างชัดเจนเพื่อฝึกลูกนอนยาว เช่น
ช่วงกลางวัน : ทำให้บรรยากาศห้องสว่าง เปิดม่านในห้องให้แดดส่องถึง สร้างเสียงดัง ตอนลูกตื่น บอกว่า เช้าแล้วนะคะ แล้วพาลูกมารับแสง ทำกิจวัตรเหมือนเดิม เช่น อาบน้ำ รวมไปถึงชวนลูกเล่นให้เหนื่อยก็ช่วยให้หลับได้ดีขึ้น
ช่วงกลางคืน : ทำให้บรรยากาศห้องมืด เงียบ บอกลูกว่ามืดแล้ว ให้ลูกมองความมืด บอกเค้าว่าได้เวลานอนแล้ว เตรียมฝึกลูกนอนยาวด้วยกิจวัตรเหมือนเดิม คือ เล่านิทานก่อนนอน ร้องเพลงกล่อม สามารถเปิดเพลงบรรเลงเบา ๆ ได้ ลูบตัวและลูบหัว พร้อมกับพูดกระซิบกับลูกว่า “นอนนะคนดี นอนนะลูก” ด้วยโทนเสียงนุ่มนวลและอ่อนโยน ไม่ควรเล่นบนเตียงนอน ให้ลูกรู้สึกว่าเตียงนอนเอาไว้นอนเท่านั้น
การฝึกลูกนอนยาวและการฝึกลูกนอนเป็นเวลา อาจมีอุปสรรคอยู่บ้างที่คุณพ่อคุณแม่ต้องจัดการ
1. เมื่อลูกนอนตื่นสาย ตื่นหลัง 8 โมงเช้า หรือเข้านอนไม่เป็นเวลา
เด็กไม่ควรนอนหลัง 3 ทุ่ม และไม่ว่าจะนอนดึกแค่ไหนก็ควรปลุกตื่นก่อน 8 โมงเช้า เพื่อให้นาฬิกาชีวภาพ (นาฬิกาชีวภาพทำงานตามแสงสว่าง) ทำงานได้ตามปกติ
2. ลูกนอนมากเกินไป
ลูกนอนกลางวันมากเกินไป หรือนอนในช่วงเวลาเย็นหลัง 5 โมงเย็น ถ้าเด็กนอนในช่วงเย็น คุณพ่อคุณแม่ควรปลุกขึ้นมาหลังจากนอนไปได้แล้ว 30 นาที
3. ไม่มีความแตกต่างระหว่างกลางวันและกลางคืน
บางบ้านอาจมีสว่างภายในบ้านตลอดเวลาทั้งกลางวันและกลางคืน ทำให้ฮอร์โมเมลาโทนินไม่หลั่ง และนาฬิกาชีวภาพทำงานได้ไม่ดี
4. พ่อแม่นอนไม่เป็นเวลา ลูกเลยนอนไม่เป็นเวลาด้วย
บางทีพ่อแม่อาจจะต้องออกไปทำงานนอกบ้านตอนกลางวัน กลับมาก็ค่ำแล้ว เลยมาเล่นกับลูกก่อนนอนเยอะไปหน่อย อาจทำให้การฝึกลูกนอนยาวไม่สามารถเกิดขึ้นได้ในที่สุด แนะนำให้เวลาคุณภาพก่อนนอน เพียง 30 นาที กอดลูก พูดคุยกับลูก เล่านิทานให้ฟัง เท่านี้ก็เพียงพอค่ะ
5. ลูกติดจอ หรือทำกิจกรรมที่เร้าใจมาก
ลูกติดจอ หรือทำกิจกรรมที่เร้าใจมาก ทำให้ก่อนเข้านอนเด็กจะยังรู้สึกกำลังสนุกอยู่ และทำให้ไม่อยากเข้านอน
6. ผู้ใหญ่ในบ้านฝึกลูกนอนยาวไม่เหมือนกัน
เนื่องจากบางบ้านอาจมีทั้งคนที่ฝึก และคนที่ไม่ฝึกลูกนอนยาว แนะนำทำแบบเดียวกันนะคะ เด็กจะได้ไม่สับสนและฝึกแบบสม่ำเสมอ จงเชื่อมั่นว่าลูกเราทำได้
7. ยังเลิกมื้อดึกไม่ได้
พยายามจัดเวลากินให้ดี มื้อก่อนนอนขออิ่ม ๆ เราจะฝึกลูกเลิกมื้อดึก เมื่อมีฟันซี่แรกขึ้นหรือหลัง 6 เดือนนะคะ
8. ลูกไม่เคยฝึกนอนยาวด้วยตัวเอง
หากพูดอีกมุมหนึ่งก็คือยังกล่อมตัวเองนอนไม่เป็น เด็กบางคนมีเงื่อนไขในการนอนที่มีความแตกต่างกันไป เช่น ต้องมีคนอุ้ม ต้องกอดหมี ติดขวดนม หรือติดเต้าแม่ต้องได้ดูดถึงจะหลับ ถ้าไม่มีสิ่งเหล่านี้ เด็กจะไม่สามารถหลับเองได้ และถ้าเด็กตื่นมากลางดึกอาจจะไม่สามารถหลับต่อได้
ทั้งนี้ในการฝึกลูกนอนยาว หากลูกมีเงื่อนไขดังกล่าวถึงจะนอนได้ แนะนำให้หากิจกรรมทดแทน เช่น ร้องเพลงกล่อมนอน เล่านิทานพูดคุยเรื่องราววันนี้กับลูกด้วยท่าทีอ่อนโยน หรือการฝึกลูกนอนยาวด้วยอุปกรณ์ตัวช่วยนอนแทน เช่น ผ้าขนหนู ตุ๊กตานิ่ม ๆ เพราะจะเป็นสัญลักษณ์แทนการนอนของลูก พอเห็นแล้วลูกจะรู้ว่าต้องนอนแล้ว
ช่วงแรกของการฝึกลูกนอนยาว เด็กอาจจะมีการตื่นมาร้องไห้กลางดึก พ่อแม่ไม่จำเป็นต้องอุ้มทันที รอสักพัก แล้วตบก้นลูกเบา ๆ พูดเสียงนุ่มนวล ว่า “ยังกลางคืนอยู่นะคะ หลับต่อนะคนดี” โดยพ่อแม่ต้องสงบ ใจเย็น เดี๋ยวลูกก็จะหลับต่อได้เอง
การฝึกลูกนอนยาวเป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่สามารถฝึกลูกเองได้ ตามความเหมาะสมของเด็กแต่ละครอบครัว ตามเทคนิคข้างต้น ลองเอาไปปรับกันดูนะคะ แล้วจะรู้ว่าการที่ลูกหลับสบาย จะทำให้อารมณ์ดี ส่งเสริมพัฒนาการที่ดีของลูกได้ อีกหนึ่งตัวช่วยดี ๆ ที่ทำให้ลูกหลับสบาย คือกลิ่นหอมอ่อน ๆ ที่ช่วยให้ผ่อนคลายของ dmp Goodtime Organic pH 5.5 นอกจากจะช่วยดูแลผิวแล้ว ยังช่วยทำให้อารมณ์ผ่อนคลายด้วยออร์แกนิคลาเวนเดอร์ อีกทั้งยังมีออร์แกนิคคาโมมายล์ ลดการระคายเคือง พร้อมมอยเจอร์ไรเซอร์มอบความชุ่มชื่นสู่ผิวอีกด้วย
บทความโดย
พญ.สุทธิชา อู่เงิน (หมอมะเหมี่ยว)
เจ้าของเพจ Doctor MM Family เมาท์เรื่องลูกกับหมอมะเหมี่ยว
แม้การฝึกลูกนอนยาวในช่วงแรกอาจเป็นเรื่องยาก แต่คุณพ่อคุณแม่ก็สามารถหาตัวช่วยที่ทำให้ลูกรู้สึกผ่อนคลายสบายตัวก่อนเข้านอนได้ โดยดีเอ็มพีขอแนะนำ 2 ไอเทมเด็ดอย่าง dmp Goodtime ที่มีทั้งสบู่เหลวอาบน้ำและโลชั่นทาผิวสำหรับเด็กที่อ่อนโยน ปราศจากสารระคายเคืองผิว มี pH-Balance 5.5 ช่วยเสริมสมดุลผิวให้แข็งแรง พร้อมกลิ่นหอมละมุนอ่อน ๆ จาก
ออร์แกนิคลาเวนเดอร์ ไว้อาบและนวดตัวคุณหนู ๆ ให้รู้สึกผ่อนคลายก่อนเข้านอน ให้ลูกหลับสบายอารมณ์ดี ส่งเสริมพัฒนาการที่ดีของลูกน้อยในทุกวัน
ติดตาม สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หรือโปรโมชัน ได้ตามช่องทางติดต่อด้านล่าง
RELATED
ลูกอาบน้ำยาก เปลี่ยนการอาบน้ำที่แสนวุ่นวายเป็นช่วงเวลาแห่งความสนุกสนาน
คุณพ่อคุณแม่มักมีเรื่องลำบากใจกับลูกน้อยของเรากันอยู่อย่างน้อยเรื่องหนึ่งและเรื่องที่ท้าทายคุณพ่อคุณแม่หลายๆท่านคงจะเป็นเรื่องการอาบน้ำนั่นเองซึ่งเราอาจพยายามหาวิธีคอยดูแลให้ทุกอย่างเข้าร่องเข้ารอยแต่พฤติกรรมการต่อต้านดื้อรั้นของเด็กๆก็ช่างท้าทายเราเสียเหลือเกินจนถึงขั้นต้องดุหรือลงโทษกันแรงๆ แต่ความร่วมมือที่ต้องแลกมากับการบาดเจ็บทั้งทางร่างกายและจิตใจนั้นคุ้มค่าที่จะได้มาจริงๆ หรือไม่ ?
ลูกดูเศร้า ดูเหงา ไม่เหมือนเดิม มาหาคำตอบพร้อมกิจกรรมเสริมพลังใจในบ้าน
คุณพ่อคุณแม่และผู้ปกครองอาจรู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลงของลูกน้อย เช่น พูดน้อยลง ยิ้มน้อยลง ไม่เล่น ไม่ร่าเริงเหมือนเคย หรือแสดงพฤติกรรมที่ทำให้คิดว่าลูกๆ กำลังเผชิญหน้ากับความเศร้าหรืออารมณ์ทางลบอื่นๆ จนทำให้คุณพ่อคุณแม่เป็นห่วงลูกขึ้นมา แต่ความเศร้านั้นมีหลายระดับทั้งความเศร้าปกติตามธรรมชาติเมื่อต้องผิดหวังในบางสิ่งบางอย่างซึ่งสามารถจัดการให้หายไปได้ในระยะเวลาที่เหมาะสมและความเศร้าที่เกิดขึ้นเรื้อรังจนเป็นภาวะซึมเศร้าและเพื่อสังเกตว่าอารมณ์ทางลบของลูกน้อยเป็นเรื่องที่ผิดปกติจนน่าเป็นห่วงหรือไม่
เผยช่วงเวลาทองของสมองเด็ก ที่พ่อแม่ควรใส่ใจมากที่สุด
พัฒนาการของเด็กเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมากสำหรับพ่อแม่ทุก ๆ คน เพราะเป็นการก่อร่างสร้างตัวของชีวิตน้อย ๆ ที่เราได้ให้กำเนิด เขามาจนกระทั่งเขาโตพอที่จะดูแลและช่วยเหลือตัวเองได้ ก่อนจะเป็นผู้ใหญ่และออกจากอ้อมอกของแม่ไป พัฒนาการด้านสมองของเด็กก็เช่นกัน
อ่านต่อ