ฝึกพัฒนาการเด็กด้านการตัดสินใจ ให้ลูกได้เลือกเอง
การฝึกพัฒนาการเด็กให้รู้จักเลือกและตัดสินใจด้วยตัวเอง เป็นหนึ่งในพัฒนาการด้านที่ใช้ทั้งเหตุผลและอารมณ์ร่วมกัน ลูกน้อยของคุณก็สามารถพัฒนาส่วนนี้ได้
- การฝึกพัฒนาการเด็กที่ดีมาจากวิธีการเลี้ยงดูเป็นหลัก การให้ลูกได้คิดและตัดสินใจอะไรด้วยตัวเอง และคุณพ่อคุณแม่อยู่ข้าง ๆ ค่อยสร้างความมั่นใจ จะช่วยเพิ่มความสามารถในดูแลตนเองของลูกได้ และยังเป็นการฝึกการทำงานของสมองส่วนหน้า EF (Executive Function) ที่ช่วยให้คนเราสามารถควบคุมความคิด อารมณ์ และพฤติกรรม
- การฝึกพัฒนาการเด็ก ให้กล้าคิด กล้าตัดสินใจ อาจเริ่มได้จากเรื่องเล็ก ๆ อย่างการเลือกผลิตภัณฑ์ที่ตัวเองใช้เอง เช่น ครีมอาบน้ำ จากลวดลายสีสัน หรือกลิ่นที่ชอบ เพื่อสร้างความภาคภูมิใจ
ฝึกพัฒนาการเด็ก พ่อแม่ควรเริ่มจากอะไร
การฝึกพัฒนาการเด็ก เริ่มต้นได้ไม่ยาก แค่เพียงพ่อแม่ลองถอยออกมา และปล่อยให้ลูกได้เผชิญกับปัญหา และตัดสินใจด้วยตัวเอง ได้ลองแก้ไขปัญหาเอง ถึงแม้อาจจะไม่ใช่เรื่องง่าย หรืออาจผิดพลาดได้ แต่การให้ลูก ๆ เป็นผู้ตัดสินใจและวางแผนการดำเนินชีวิต จะช่วยเพิ่มความสามารถในการกำกับดูแลตนเองของลูกได้
ฝึกพัฒนาการเด็กแบบไหนถึงจะดี
หลาย ๆ บ้านมักจะอยากให้เด็กเป็นคนว่านอนสอนง่าย ผู้ใหญ่สั่งอะไร ก็ทำตามง่าย ๆ แต่ความจริงแล้ว การที่ผู้ใหญ่เปลี่ยนบทบาทจากผู้สั่งมาเป็นที่ปรึกษา จะเปิดโอกาสให้ลูกได้กล้าคิด ได้ตัดสินใจ ได้แก้ปัญหาเอง ฝึกแบบนี้ไปเรื่อย ๆ จนลูกโต ผิดถูกไม่ใช่เรื่องสำคัญ แบบนี้จะทำให้สมอง EF (Executive Function) เติบโตได้อย่างดี โดยสมอง EF สามารถสร้างได้ ตั้งแต่ขวบปีแรกเลยพัฒนาได้มากช่วง 6 ขวบปีแรก ประมาณ 90% และสร้างได้เรื่อย ๆ จนถึง 25 ปีค่ะ
ทำไมเด็กคนหนึ่งจึงประสบความสำเร็จ และไปได้ไกลกว่าเด็กอีกคนหนึ่ง ‘ สมอง EF คือ คำตอบ ไม่ใช่ IQ ’
ฝึกพัฒนาการเด็ก Gen Alpha อย่างไร
การฝึกพัฒนาการเด็ก เด็ก Gen Alpha คุณพ่อคุณแม่ต้องเข้าใจก่อนว่า เด็ก ๆ ยุคนี้เกิดมาพร้อม wifi , social media ที่ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และผู้ร้ายก็อยู่แค่ปลายนิ้วลูกของเราเอง ดังนั้นการที่เด็กขาดการฝึกสมอง EF เค้าอาจจะไปผิดทางได้ง่าย ๆ เดินออกนอกบ้านก็เจอสิ่งล่อตาล่อใจมากมาย หรือถ้าขาดการฝึกสมอง EF ไว้ติดเบรค ห้ามใจลูก…. ลูกของเราจะไปทางไหน ต้องมากลุ้มกันอีก
ฝึกพัฒนาการเด็ก Gen Alpha อย่างไร
สมองส่วน EF (Executive Function) ก็คือสมองที่อยู่บริเวณแถวหน้าผาก เป็นสมองในส่วนของการบริหาร หรือเจ้านายของสมอง ที่จะรับประมวลผลจากสมองแผนกต่าง ๆ แล้วสั่งงานให้สมองส่วนไหนทำอะไร !
- EF สามารพัฒนาได้ตั้งแต่ขวบปีแรก คือ Working memory หรือความจำใช้งาน
- EF ควรฝึกอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง
- EF ไม่สามารถเกิดขึ้นได้เอง ‘ต้องฝึก’
- EF เกิดจากสิ่งแวดล้อมและการเลี้ยงดู ไม่เกี่ยวข้องกับพันธุกรรม
สมองส่วน EF มีหน้าที่อะไรบ้าง
ความจำใช้งาน (Working Memory)
ความจำใช้งาน (Working Memory)
คือ ความจำที่ไม่ได้เกิดจากการท่องจำ เช่น จำได้ว่ามีดมันคม เวลาลูกจับมีดเค้าจะระวังเป็นพิเศษ
การยับยั้งชั่งใจ (inhibit )
เช่น แม่บอกให้ทำการบ้านก่อนให้เสร็จแล้วค่อยเล่นเกม เด็กที่มี EF ดี จะสามารถยับยั้งตนเองให้ทำการบ้านให้เสร็จก่อนได้
การควบคุมอารมณ์ตัวเอง (Self control)
เช่น ตอนนั่งเรียนในห้องเรียนเด็กอาจจะอยากวิ่งเล่นที่สนามเด็กเล่น แต่เค้าต้องควบคุมตนเองให้นั่งในห้องเรียนต่อเพราะยังไม่ใช่เวลาที่จะเล่นได้
ความคิดยืดหยุ่น (Cognitive Flexibility)
เช่น เวลาเด็กระบายสี หากสีเดิมที่เด็กเคยใช้หมด เค้าจะสามารถยืดหยุ่นใช้สีอื่นแทนได้ โดยไม่โวยวาย
การวางแผนงานเพื่อให้ไปถึงเป้าหมาย (Planing)
เช่น แม่บอกให้ลูกช่วยทำงานบ้าน เด็กเค้าจะฝึกวางแผน ว่าต้องทำอะไรก่อน อะไรทีหลังเพื่อให้งานบ้านเสร็จ คือ กวาดบ้านก่อนแล้วค่อยถูพื้น
การฝึกพัฒนาการเด็ก หรือการฝึกให้ลูกเป็นเด็กดี มี EF ไม่ใช่ว่าทำได้ภายในเดือนเดียวนะคะ เพราะ EF ต้องค่อย ๆ สร้าง ค่อย ๆ ฝึก เนื่องจากสมองจะค่อย ๆ พัฒนาและสร้างเส้นใยประสาท ดังนั้นอะไรที่ใช้บ่อย ทำบ่อย หรือเจอแบบสม่ำเสมอ สมองจะเก็บความทรงจำนั้นไว้ และอะไรที่ไม่ค่อยได้ใช้สมองจะตัดเส้นใยส่วนนั้นทิ้งไป (Synaptic Pruning)
วิธีฝึกพัฒนาการเด็กด้านการตัดสินใจ
ตามที่ได้กล่าวไปแล้วว่าวิธีสร้างสมอง EF หรือสร้างพัฒนาการลูกง่าย ๆ เริ่มได้จากการให้ลูกได้เลือก ได้คิด ได้ตัดสินใจ ทำอะไรเอง เพื่อให้ลูกมีความมั่นใจและภูมิใจในตนเอง พ่อแม่แค่คอยเป็นที่ปรึกษาใกล้ ๆ เป็น Safe Zone ของลูก เมื่อยามที่ลูกผิดพลาด เราพ่อแม่แค่พร้อมที่จะคอยให้กำลังใจและช่วยกันแก้ไข ตัวอย่างเช่น การให้ลูกได้คิดและเลือกตั้งแต่การแต่งตัว การทานอาหาร กิจกรรมที่อยากทำ รวมไปถึงผลิตภัณฑ์ที่ใช้ คุณพ่อคุณแม่ก็สามารถพาลูกไปเลือกซื้อเองได้
การเล่นของเล่นลอยน้ำนั้นมีหลากหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับชนิดหรือลักษณะของของเล่นที่นำมาใช้ เช่นการเล่นกับตุ๊กตาเป็ดลอยน้ำ ซึ่งจะช่วยฝึกทักษะการสังเกต ทักษะการแยกชนิดสิ่งของ ทักษะการกะขนาด ทักษะการคิด ตลอดจนการฝึกกำลังมือของเด็ก ๆ อีกด้วย เพราะเด็ก ๆ สามารถคิดว่าจะนำของเล่นชนิดนั้นไปวางไว้ที่ไหน ของเล่นนี้หน้าตาแตกต่างจากของอื่น ๆ อย่างไร รวมไปถึงของเล่นบางชนิดอาจมีเสียงเมื่อบีบ ทำให้เด็กเกิดการจดจำและรู้สึกสนุกขณะคิดว่าจะเล่นอะไรตอนไหนนั่นเอง
บทความโดย
พญ.สุทธิชา อู่เงิน (หมอมะเหมี่ยว)
เจ้าของเพจ Doctor MM Family เมาท์เรื่องลูกกับหมอมะเหมี่ยว
ฝึกพัฒนาการเด็กด้านการตัดสินใจ ให้ลูกได้เลือกเอง ไปกับ dmp Kids 3 in 1 ผลิตภัณฑ์อาบน้ำสำหรับเด็กที่ได้ทั้งอาบ สระ นวด พร้อมลวดลายขวดสุดน่ารัก ให้ลูกสนุกกับการเลือกตัวการ์ตูนตัวโปรด ทั้งเจ้าหญิงและเหล่าฮีโร่ที่ชอบ พร้อมปกป้องผิวอย่างอ่อนโยน และคุณพ่อคุณแม่วางใจได้ว่าจะปลอดภัยกับผิวลูกรัก เพราะเป็นสูตรออร์แกนิค ผสานคุณค่า Organic Argan Oil ช่วยให้ผิวสดชื่น พร้อมมอยเจอร์ไรเซอร์ จากธรรมชาติบำรุงผิวและเส้นผมของลูกน้อยอย่างอ่อนโยน ปราศจาก 7 สารระคายเคืองต่อผิว ไม่ทำให้เกิดอาการแพ้ pH-Balance 5.5 ช่วยรักษาสมดุลและปกป้องน้ำหล่อเลี้ยงตามธรรมชาติของผิว และสามารถป้องกันแบคทีเรียในทุกครั้งที่อาบ
ติดตาม สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หรือโปรโมชัน ได้ตามช่องทางติดต่อด้านล่าง
RELATED
ฝึกลูกนอนยาวช่วยให้ลูกพัฒนาการดี และพ่อแม่มีเวลาพักผ่อนเมื่อลูกนอนเป็นเวลา
การฝึกลูกนอนยาวและฝึกลูกนอนเป็นเวลาไม่ใช่สิ่งที่ยากอย่างที่คิด พ่อแม่มือใหม่หลายคู่อาจกังวลถ้าลูกตื่นบ่อย หรือนอนไม่ได้นาน เพราะกลัวส่งผลต่อพัฒนาการเด็ก แต่จริง ๆ แล้ว การฝึกลูกนอนยาวเป็นสิ่งที่ฝึกกันได้
ลูกอาบน้ำยาก เปลี่ยนการอาบน้ำที่แสนวุ่นวายเป็นช่วงเวลาแห่งความสนุกสนาน
คุณพ่อคุณแม่มักมีเรื่องลำบากใจกับลูกน้อยของเรากันอยู่อย่างน้อยเรื่องหนึ่งและเรื่องที่ท้าทายคุณพ่อคุณแม่หลายๆท่านคงจะเป็นเรื่องการอาบน้ำนั่นเองซึ่งเราอาจพยายามหาวิธีคอยดูแลให้ทุกอย่างเข้าร่องเข้ารอยแต่พฤติกรรมการต่อต้านดื้อรั้นของเด็กๆก็ช่างท้าทายเราเสียเหลือเกินจนถึงขั้นต้องดุหรือลงโทษกันแรงๆ แต่ความร่วมมือที่ต้องแลกมากับการบาดเจ็บทั้งทางร่างกายและจิตใจนั้นคุ้มค่าที่จะได้มาจริงๆ หรือไม่ ?
ลูกดูเศร้า ดูเหงา ไม่เหมือนเดิม มาหาคำตอบพร้อมกิจกรรมเสริมพลังใจในบ้าน
คุณพ่อคุณแม่และผู้ปกครองอาจรู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลงของลูกน้อย เช่น พูดน้อยลง ยิ้มน้อยลง ไม่เล่น ไม่ร่าเริงเหมือนเคย หรือแสดงพฤติกรรมที่ทำให้คิดว่าลูกๆ กำลังเผชิญหน้ากับความเศร้าหรืออารมณ์ทางลบอื่นๆ จนทำให้คุณพ่อคุณแม่เป็นห่วงลูกขึ้นมา แต่ความเศร้านั้นมีหลายระดับทั้งความเศร้าปกติตามธรรมชาติเมื่อต้องผิดหวังในบางสิ่งบางอย่างซึ่งสามารถจัดการให้หายไปได้ในระยะเวลาที่เหมาะสมและความเศร้าที่เกิดขึ้นเรื้อรังจนเป็นภาวะซึมเศร้าและเพื่อสังเกตว่าอารมณ์ทางลบของลูกน้อยเป็นเรื่องที่ผิดปกติจนน่าเป็นห่วงหรือไม่