เผยช่วงเวลาทองของสมองเด็ก ที่พ่อแม่ควรใส่ใจมากที่สุด
เซลส์สมองเริ่มกระตุ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงหนึ่งปีแรก
เซลส์สมองที่สร้างมาอย่างมากมายในช่วงที่อยู่ในครรภ์ ถึงเวลาใช้งานจริงเมื่อเด็กเริ่มสัมผัสกับสิ่งรอบข้าง ไม่ว่าจะเป็นเสียง สัมผัส รส กลิ่น สี การมองเห็นต่าง ๆ ในช่วงปีแรกจึงเป็นปีที่สมองของเด็กเริ่มมีการทำงาน มีการส่งกระแสประสาทระหว่างเซลส์ จนกระทั่งเมื่อ เด็กอายุสามปี จะมีเซลส์ประสาทที่ทำงานมากกว่าหนึ่งพันล้านล้านเซลส์ และลดลงเหลือห้าร้อยล้านล้านเซลส์ที่ทำงานในช่วงวัยรุ่น แสดงถึงปัจจัย ในวัยเด็กที่มีผล ต่อการทำงานลดลงของระบบประสาทหากไม่ได้รับการกระตุ้นที่เหมาะสม ช่วงเวลาสำคัญของการเติบโตของสมองในแต่ละด้าน (Prime time for brain development)
ช่วงเวลาสำคัญหรือ ไพร์มไทม์ สำหรับการพัฒนาของสมอง คือช่วงเวลาที่สมองต้องการ การดูแลที่เหมาะสมที่สุดก่อน จะสายเกินไป สำหรับการพัฒนา เพราะเซลส์สมองเมื่อพัฒนาถึงจุดหนึ่งแล้วจะคงที่ และทำงานลดน้อยถอยลงเมื่ออายุมากขึ้น ในวัยแรกเกิดถึง ห้าขวบเป็นช่วง เวลาที่สมองพัฒนาตัวเต็มที่ การเอาใจใส่ในช่วงนี้จึงสำคัญที่สุด
การพัฒนาด้านการมองเห็นสำคัญสุดในช่วงแรกเกิดถึง 12 เดือน
การมองเห็นพัฒนาสมบูรณ์ที่สุดในช่วงอายุ 8-12 เดือน เซลส์สมองที่เกี่ยวข้องกับการมองเห็นและรับภาพจะเติบโตเป็น กราฟชัน เมื่ออายุ 2-4 เดือน และเริ่มพัฒนาสมบูรณ์เมื่ออายุได้ 10-12 เดือน พ่อแม่ควรเสริมพัฒนาการด้านการมองเห็นของลูกโดยการใช้ของที่มีสี รูปร่าง แปลกแตกต่าง วัตถุที่เคลื่อนไหวได้ มาช่วยเสริม
สิ่งสำคัญคือหากทารกมีโรคใดที่ปิดบังหรือทำให้การมองเห็นบกพร่องเช่น ต้อ โรคสายตาสั้นแต่กำเนิด หรือโรคอื่นๆ ต้องรีบแก้ก่อนที่จะ ผ่านช่วงเวลานี้ไป มิเช่นนั้นแล้วสมองของเด็กน้อยจะเสียโอกาสในการเรียนรู้การมองเห็น ทำให้การมองเห็นไม่สมบูรณ์เมื่อ โตขึ้น ถึงแม้จะรักษาโรค ไปในภายหลังได้
การพัฒนาการด้านภาษาเริ่มตั้งแต่เกิดจนอายุ 12 ปี
เด็กเกิดมาพร้อมที่จะเรียนรู้ในทุกภาษา แต่เมื่อเขาอายุสิบสองเดือนเด็กจะเริ่มชินและพูดภาษาที่เขาได้ยินบ่อยที่สุด ทำให้ เริ่มมีการเอนเอียงไปทางภาษาใดภาษาหนึ่ง การให้เด็กได้ใช้ภาษา เรียนรู้คำ จะช่วยเพิ่มการทำงานของสมองได้ ในช่วงแรกเกิดถึงสิบสองปี พ่อแม่ ควรจะเสริมการใช้ภาษา คำศัพท์ที่หลากหลายให้กับลูก ในช่วงเวลานี้เด็กจะสามารถเรียนรู้ภาษาได้หลากหลายภาษากว่าคนที่โตแล้ว จึงเป็นช่วง เวลาสำคัญที่จะให้เขาเรียนรู้ภาษาอื่นไปพร้อมกับภาษาแม่ของตัวเอง
การพัฒนาการด้านอารมณ์ความผูกพันเริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนอายุ 18 เดือน
ช่วงแรกเกิดจนถึง 18 เดือนเป็นช่วงที่เด็กจะเกิดพัฒนาการด้านอารมณ์และความผูกพันกับคนที่เลี้ยงดู การดูแลเอาใจใส่ และการให้ความรักความอบอุ่นในช่วงนี้จึงเป็นเวลาที่สำคัญ เด็กที่พ่อแม่ใส่ใจและดูแลอย่างดีจะเรียนรู้การไว้ใจ (trust) ซึ่งความไว้ใจนี้จะมีผลต่อ บุคลิกภาพในตอนโต ตรงกันข้ามหากคนเลี้ยงทอดทิ้ง หรือไม่ดูแลไม่ใส่ใจ พื้นฐานจิตใจเมื่อโตขึ้นก็จะกลายเป็นไม่มั่นคง
การดูแลให้ความรักและความใส่ใจในช่วงนี้จึงสำคัญที่สุด พึงระวังว่าอารมณ์ที่ขี้นลงของพ่อแม่ การทะเลาะเบาะแว้งใน ครอบครัว มีผลต่อบุคลิกภาพของเด็กในตอนโตขึ้นอย่างมาก จึงควรระมัดระวังในข้อนี้มากที่สุด
การพัฒนาการระบบประสาทการรับรู้ (sensory) เริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนอายุ 18 เดือน
การรับรู้รส การได้ยิน และการรับสัมผัส พัฒนาจากเบสิคจนมีความซับซ้อนมากขึ้นในช่วงปีแรก การพัฒนานี้จะสมบูรณ์ เมื่ออายุ 12-18 เดือน เราควรเสริมพัฒนาการด้วยการสอนให้เขาจับสิ่งของ พร้อมไปกับการพัฒนากล้ามเนื้อส่วนต่างๆ โดยเฉพาะมือและ การทำงานที่ละเอียดอ่อนของมือ กระตุ้นให้เขาฟังเสียงเพลง หรือเสียงสัตว์ชนิดต่าง ๆ รับรู้รสชาติอาหารที่แตกต่างออกไป เด็กที่เกิดมามีปัญหาด้านการได้ยิน หากได้รับการแก้ไขก่อนอายุ 18 เดือนจะทำให้เขามีโอกาสที่จะพัฒนาการได้ยินต่อไปได้ ตรงกันข้ามหากแก้ไขในช่วงหลังจากนี้สมองจะปิดการเรียนรู้ด้านภาษาและเสียงต่าง ๆ ไปทำให้เสียโอกาสในการกลับมาได้ยินอีกครั้งหนึ่ง
จะเห็นได้ว่า การพัฒนาของสมองในช่วงแรกเกิดถึงห้าปีนั้นถือว่าเป็นช่วงทองของเด็กน้อย โดยเฉพาะในสามปีแรกหลังคลอด การเข้าใจและเสริมการเรียนรู้ที่เหมาะสมจะช่วยทำให้เราสามารถเสริมพัฒนาการของลูกได้อย่างถูกต้อง มีบุคลิกภาพในตอนโตที่ดีและสามารถ พัฒนาสมองศักยภาพของตัวเองได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป ลองสังเกตดูกันนะคะว่า เราได้ดูแลลูกเหมาะสมกับแต่ละวัยของเขาแล้วหรือยัง
บทความโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
Reference :
1. https://www.highspeedtraining.co.uk/hub/child-development-in-early-years/
2. Prime time for learning , University of Georgia extension
3. Brain development in children, Australian Early Development Census
RELATED
ฝึกลูกนอนยาวช่วยให้ลูกพัฒนาการดี และพ่อแม่มีเวลาพักผ่อนเมื่อลูกนอนเป็นเวลา
การฝึกลูกนอนยาวและฝึกลูกนอนเป็นเวลาไม่ใช่สิ่งที่ยากอย่างที่คิด พ่อแม่มือใหม่หลายคู่อาจกังวลถ้าลูกตื่นบ่อย หรือนอนไม่ได้นาน เพราะกลัวส่งผลต่อพัฒนาการเด็ก แต่จริง ๆ แล้ว การฝึกลูกนอนยาวเป็นสิ่งที่ฝึกกันได้
ลูกอาบน้ำยาก เปลี่ยนการอาบน้ำที่แสนวุ่นวายเป็นช่วงเวลาแห่งความสนุกสนาน
คุณพ่อคุณแม่มักมีเรื่องลำบากใจกับลูกน้อยของเรากันอยู่อย่างน้อยเรื่องหนึ่งและเรื่องที่ท้าทายคุณพ่อคุณแม่หลายๆท่านคงจะเป็นเรื่องการอาบน้ำนั่นเองซึ่งเราอาจพยายามหาวิธีคอยดูแลให้ทุกอย่างเข้าร่องเข้ารอยแต่พฤติกรรมการต่อต้านดื้อรั้นของเด็กๆก็ช่างท้าทายเราเสียเหลือเกินจนถึงขั้นต้องดุหรือลงโทษกันแรงๆ แต่ความร่วมมือที่ต้องแลกมากับการบาดเจ็บทั้งทางร่างกายและจิตใจนั้นคุ้มค่าที่จะได้มาจริงๆ หรือไม่ ?
ลูกดูเศร้า ดูเหงา ไม่เหมือนเดิม มาหาคำตอบพร้อมกิจกรรมเสริมพลังใจในบ้าน
คุณพ่อคุณแม่และผู้ปกครองอาจรู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลงของลูกน้อย เช่น พูดน้อยลง ยิ้มน้อยลง ไม่เล่น ไม่ร่าเริงเหมือนเคย หรือแสดงพฤติกรรมที่ทำให้คิดว่าลูกๆ กำลังเผชิญหน้ากับความเศร้าหรืออารมณ์ทางลบอื่นๆ จนทำให้คุณพ่อคุณแม่เป็นห่วงลูกขึ้นมา แต่ความเศร้านั้นมีหลายระดับทั้งความเศร้าปกติตามธรรมชาติเมื่อต้องผิดหวังในบางสิ่งบางอย่างซึ่งสามารถจัดการให้หายไปได้ในระยะเวลาที่เหมาะสมและความเศร้าที่เกิดขึ้นเรื้อรังจนเป็นภาวะซึมเศร้าและเพื่อสังเกตว่าอารมณ์ทางลบของลูกน้อยเป็นเรื่องที่ผิดปกติจนน่าเป็นห่วงหรือไม่