รักษาเหาในเด็ก เรื่องของแมลงตัวเล็ก ๆ ที่ไม่เล็กสำหรับพ่อแม่

เปลี่ยนนิสัยลูกไม่ชอบอาบน้ำ

เด็กเป็นเหาคือปัญหาที่เจอได้บ่อย ๆ ในเด็กเล็ก ดูเหมือนเป็นเรื่องเล็ก ๆ แต่พอลูกเป็นเหาคนที่คันกว่าลูกคือพ่อแม่ ที่ต้องงัดสารพัดวิธีมารักษาเหาตัวดีให้สิ้นซาก

  • เด็กเป็นเหา เกิดได้จากหลายปัจจัย ทั้งจากการติดต่อโดยตรงจากการสัมผัสใกล้ชิดหรือใช้ของร่วมกันคนที่เป็นเหา หากไม่ป้องกันและหลีกเลี่ยงให้ดี ก็เป็นเรื่องง่ายที่จะติดต่อได้ทันที

  • เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กเป็นเหา การให้ความสำคัญในสุขอนามัยเส้นผมและหนังศีรษะจึงเป็นสิ่งจำเป็น ต้องหมั่นทำความสะอาด ด้วยการอาบน้ำและสระผมลูก ด้วยผลิตภัณฑ์ที่อ่อนโยน ปราศจากสารระคายเคืองผิวและเส้นผมลูก

เด็กเป็นเหา เราต้องทำยังไง ?

ทำให้เด็กอยากอาบน้ำ

ลองนึกภาพตามสนุก ๆ นะครับ ถ้าคุณเห็นเด็กอนุบาลคนหนึ่ง มือนึงถือหวีเสนียด อีกข้างถือใบน้อยหน่า คุณพ่อคุณแม่พอจะเดาได้มั้ยครับว่าเด็กคนนี้น่าจะเป็นโรคอะไร

ไม่จำเป็นต้องเรียนหมอ ก็พอบอกได้ว่าเด็กเป็นเหา เพราะโรคเหามันอยู่คู่กับเรามาแสนนาน เอาล่ะครับ ก่อนอื่น เรามาทำความรู้จักเเละทำความเข้าใจกับโรคเหากันก่อน เพื่อที่เราจะได้หลีกเลี่ยงเเละป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นกับลูกน้อยของเรากันครับ

โรคเหา (Pediculosis) เกิดจากการติดต่อของเเมลงปรสิตชนิดหนึ่ง (Head Lice) ไม่มีปีก มีขนาด 3-4 มิลลิเมตร มักอาศัยอยู่บริเวณผิวหนังที่มีขนหรือผมมาก กินเศษผิวหนังหรือขี้ไคลเป็นอาหาร มักวางไข่ไว้ตามโคนเส้นผม และทำให้เกิดอาการคันจากน้ำลายของเหาที่ระคายเคืองต่อหนังศีรษะ  

เด็กเป็นเหา อาการที่พบได้บ่อย มีอะไรบ้าง

1. คันหนังศีรษะอย่างรุนแรง เป็นอาการหลักของโรคเหา เกิดจากการตอบสนองของร่างกาย ต่อการกัดและน้ำลายของเหา

2. รอยแดงหรือผื่นเกิดขึ้นบนหนังศีรษะ จากการเกาและระคายเคือง

3. รังแคหรือขุยเกิดขึ้นบนเส้นผมและหนังศีรษะ

4. เหาหรือไข่เหาบนเส้นผมหรือหนังศีรษะ ซึ่งสามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าได้ในบางครั้ง

5. แผลถลอก ตุ่มหนองและติดเชื้อแบคทีเรียซ้ำซ้อน ที่เกิดจากการเกาอย่างต่อเนื่อง

เด็กเป็นเหาและติดได้อย่างไร ?

สร้างบรรยากาศที่ดีในการอาบน้ำ

เด็กเป็นเหาส่วนใหญ่มาจากการติดต่อ โดยเกิดจากการสัมผัสโดยตรง หรือใช้สิ่งของร่วมกัน เช่น หวี หมอน ผ้าห่ม จึงมักเกิดการเเพร่ระบาดในโรงเรียน โดยเฉพาะในเด็ก นอกจากนี้ ในสถานที่เเออัด เช่น โรงเรียน ก็เป็นอีกปัจจัยที่ทำให้เกิดการระบาดได้เช่นกัน

สร้างบรรยากาศที่ดีในการอาบน้ำ

รักษาเหาอย่างไรให้หาย

การรักษาเหาสามารถทำได้หลายวิธี ซึ่งรวมถึงวิธีธรรมชาติและการใช้ยาทางการแพทย์ ดังนี้

1. การใช้ยาฆ่าเหา ยาสระผมที่มีส่วนประกอบของเพอร์เมทริน (Permethrin)  

ทายาลงบนหนังศีรษะและเส้นผมให้ทั่วถึง โดยเฉพาะโคนผมและท้ายทอยทิ้งยาไว้ประมาณ 10 นาที หากพบว่าเหายังไม่หมดหรือมีเหาใหม่เกิดขึ้น อาจต้องทำซ้ำการรักษาอีกครั้งหลังจาก 7-10 วัน 

2. การหวีผมเพื่อกำจัดไข่เหา ใช้หวีซี่ถี่หรือหวีผมขณะยังชื้นเพื่อกำจัดไข่เหาที่ยังเหลืออยู่ 

การรักษาเหาวิธีแรก ๆ ที่คุณพ่อคุณแม่มักเลือกใช้ คือการหวีผมด้วยหวีซี่ถี่ หรือหวีเสนียดทุกวันเพื่อกำจัดเหาและไข่ที่อยู่บนเส้นผม

3. การทำความสะอาดสิ่งของใช้ส่วนตัว

การทำความสะอาดสิ่งของใช้ส่วนตัว อย่างการซักเครื่องนอน หมอน และเสื้อผ้าในน้ำร้อน ใช้เครื่องดูดฝุ่นทำความสะอาดที่นอน โซฟา และพรม


สร้างบรรยากาศที่ดีในการอาบน้ำ

ป้องกันเด็กเป็นเหา ได้ด้วย 6 วิธีนี้

1. หลีกเลี่ยงการใช้ของร่วมกัน ไม่ควรใช้หวี แปรง สเปรย์ผม หมวก ผ้าพันคอ หมอน ผ้าห่ม หรือของใช้ส่วนตัวอื่น ๆ ร่วมกับผู้อื่น

2. หากพบเด็กเป็นเหาในครอบครัวหรือโรงเรียน ควรตรวจเช็กผู้อื่นในครอบครัวและรักษาผู้ที่ติดเชื้อทันทีเพื่อป้องกันการแพร่กระจาย

3. ทำความสะอาดสิ่งของที่สัมผัสกับเส้นผม ซักผ้าปูที่นอน หมอน ผ้าห่ม และเสื้อผ้าในน้ำร้อนแล้วอบให้แห้งด้วยความร้อนสูง

4. ดูแลสุขอนามัยเส้นผมและหนังศีรษะหมั่นล้างผมและทำความสะอาดหนังศีรษะเป็นประจำ

5. หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดหรือการเล่นศีรษะชิดกัน โดยเฉพาะในเด็ก ๆ ที่มักมีการสัมผัสศีรษะกันบ่อย ๆ

6.ทำความสะอาดของเล่น อุปกรณ์การเรียน และสิ่งของในโรงเรียน ที่เด็กใช้ร่วมกันอย่างสม่ำเสมอ

การรักษาเหาต้องใช้เวลาและความอดทน เพื่อให้มั่นใจว่าทั้งเหาและไข่เหาถูกกำจัดไปหมดสิ้น นอกจากนี้โรคเหาในเด็กเป็นแล้วก็เป็นซ้ำได้ถ้าไม่ได้ระมัดระวัง ดังนั้นพ่อแม่จำเป็นต้องป้องกันเหาในเด็กไว้ก่อนดีที่สุด การอาบน้ำ สระผมให้ลูกน้อยเป็นประจำเป็นวิธีที่ง่าย และสบู่เหลวอาบน้ำ สระผมในเด็กต้องอ่อนโยน ปราศจากสารเคมีระคายเคือง ทำให้สามารถใช้ได้บ่อยตามต้องการ ตั้งแต่ศีรษะจรดเท้า 

“เพราะผิวของลูกรักสร้างจากธรรมชาติ ต้องให้สารสกัดจากธรรมชาติช่วยดูแล”


บทความโดย

พญ.สุทธิชา อู่เงิน (หมอมะเหมี่ยว)

เจ้าของเพจ Doctor MM Family เมาท์เรื่องลูกกับหมอมะเหมี่ยว


อย่าปล่อยให้เรื่องเหา ๆ เป็นปัญหากวนใจลูกรักจนหมดสนุก เลือกตัวช่วยปกป้องลูกด้วย dmp Kids 3 อิน 1 สบู่เหลวอาบน้ำเด็กออร์แกนิค พีเอช 5.5 ปราศจาก 7 สารระคายเคืองผิว

 ไว้อาบสระนวดได้ในขวดเดียว ผ่านการทดสอบการแพ้ (Hypoallergenic) จากแพทย์ผิวหนังว่าไม่ระคายเคืองผิว ที่มีให้เลือกถึง 2 รูปแบบคือ


เปลี่ยนนิสัยลูกไม่ชอบอาบน้ำ

1. ดีเอ็มพี คิดส์ 3 อิน 1 (กลิ่น กัมมี่ ฟรุตตี้ และ แคนดี้ เบอร์รี่) - กลิ่นหอมสดชื่น ติดผิวกาย ผสานคุณค่า Organic Argan Oil ช่วยให้ผิวสดชื่น พร้อมมอยเจอร์ไรเซอร์ จากธรรมชาติบำรุงผิวและเส้นผมของลูกน้อยอย่างอ่อนโยน


เปลี่ยนนิสัยลูกไม่ชอบอาบน้ำ

2. ดีเอ็มพีคิดส์ 3 อิน 1 สูตร Antibacteral (กลิ่น สวีทตี้เจลลี่ และบับเบิ้ลสมูทตี้) -  กลิ่นหอมสดชื่น ติดผิวกายผสานคุณค่าจาก Manuka Honey ลดการสะสมของแบคทีเรีย



ติดตาม สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์หรือโปรโมชัน ได้ตามช่องทางติดต่อด้านล่าง


 




RELATED

Card image cap

Gen Alpha ทำยังไง เมื่อปู่ย่าตายาย Gen X,B บอกแบบนั้น แต่พ่อแม่ Gen Y เลี้ยงแบบนี้! ปรับไงให้ลงตัว

Generation Gap ที่แตกต่างกัน ย่อมทำให้มุมมองในการเลี้ยงลูกแตกต่างกันตามไปด้วย และเมื่อความแตกต่างนั้นไม่ได้รับการแก้ไข ก็อาจกลายเป็นปัญหาครอบครัวในระยะยาว และส่งผลกระทบต่อสุขภาพและพัฒนาการของลูกน้อยโดยไม่รู้ตัว แล้วแบบนี้ การเลี้ยงลูกแบบไหนกันนะที่ดีที่สุด วิธีเลี้ยงลูก Gen Alpha ควรมีแนวทางการเลี้ยงดูแบบไหน ถึงจะเหมาะสม ทันสมัย และสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโลก? มาหาคำตอบไปพร้อมกัน!

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
Card image cap

ผื่น PM 2.5 เพราะอากาศแย่ ผิวลูกแพ้ง่าย! อาบน้ำยังไงให้ปลอดภัยจากมลภาวะ

ในปัจจุบันนี้ ปัญหามลพิษจากฝุ่น PM 2.5 ได้กลายเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของทุกคน แต่ เด็กเล็ก ถือเป็นกลุ่มเปราะบางที่ได้รับผลกระทบต่อร่างกายได้มากกว่าผู้ใหญ่ จึงทำให้เสี่ยงต่อผื่น PM 2.5 และปัญหาสุขภาพอื่น ๆ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
Card image cap

ลูกอาบน้ำยาก เปลี่ยนการอาบน้ำที่แสนวุ่นวายเป็นช่วงเวลาแห่งความสนุกสนาน

คุณพ่อคุณแม่มักมีเรื่องลำบากใจกับลูกน้อยของเรากันอยู่อย่างน้อยเรื่องหนึ่งและเรื่องที่ท้าทายคุณพ่อคุณแม่หลายๆท่านคงจะเป็นเรื่องการอาบน้ำนั่นเองซึ่งเราอาจพยายามหาวิธีคอยดูแลให้ทุกอย่างเข้าร่องเข้ารอยแต่พฤติกรรมการต่อต้านดื้อรั้นของเด็กๆก็ช่างท้าทายเราเสียเหลือเกินจนถึงขั้นต้องดุหรือลงโทษกันแรงๆ แต่ความร่วมมือที่ต้องแลกมากับการบาดเจ็บทั้งทางร่างกายและจิตใจนั้นคุ้มค่าที่จะได้มาจริงๆ หรือไม่ ? 

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม